5 ส.ค. 2554

สวนพฤกษศาสตร์

ถั่วพู


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) D.C.
สปีชีส์ : P. tetragonolobus
สกุล : Psophocarpus
เผ่า : Phaseoleae
วงศ์ย่อย : Faboideae
วงศ์ : Fabaceae
อันดับ : Fabales
ชั้น : Magnoliopsida
ส่วน : Magnoliophyta
อาณาจักร : Plantae

ถั่วพู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psophocarpus tetragonolobus) เป็นพืชจำพวกถั่ว ผลเป็นฝัก ยาว มี 4 ครีบ นิยมรับประทานสด หรือปรุงสุกก็ได้


สรรพคุณ
บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้

คุณค่า
มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน






 หากว่าไม่เคยเห็นหน้าตาของยำถั่วพูมาก่อน จากในหนังสือก็คงไม่คิดสั่งมารับประทาน เพราะความไม่คุ้นเคยของเรา เพราะเคยรู้สึกเอาเอง ว่า ฝักถั่วพูช่างน่าเหม็นเขียวอะไรอย่างนั้น เข้าใจถั่วพูผิด ๆ อยู่นานทีเดียว จนเมื่อได้ลองลิ้มยำถั่วพูจานแรกเข้าไป เมื่อนั้นก็เป็นต้องสั่งมาขึ้นโต๊ะทุกคร้งที่ได้ไปนั่งร้านอาหาร จะเป็นยำแบบเปรี้ยวที่ไม่ใส่กะทิแต่มีพริกขี้หนู หรือจะเป็นยำแบบมัน ๆ มีกะทิมีพริกเผาก็เยี่ยม บางสูตรก็มีมะพร้าวคั่ว เติมมาให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น หรือจะแค่ลวกจิ้มน้ำพริก ใส่ในขนมจีน ไม่ว่าจะกินกับน้ำยาแบบใดก็เด็ดทั้งนั้น


บางคนชอบกินสด รสจะมัน ๆ หรือไม่ชอบแบบสดก็ผักเล็กน้อยกับน้ำมันแล้วกินกับน้ำพริกหรือขนมจีน จะหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผสมลงในทอดมันก็ได้เมนูเด็ดที่ชาวปักษ์ใต้นิยมก็คือแกงไตปลา ที่บางที่ก็ใส่ถั่วพูลงไปเพิ่มรสให้มันสะใจยิ่งขึ้น หากจะรับประทานฝักถั่วพูก็ควรรับประทานฝักอ่อนที่ยังไม่มีเมล็ด นอกจากผลที่เป็นฝักแล้ว ดอกอ่อน ยอดอ่อนก็ยังรับประทานได้อีกด้วย ทางแม่ฮ่องสอนเรียกถั่วพูว่า “บ่อบะปะหลี” คงเป็นภาษาไทยใหญ่กระมัง






คุณค่าทางอาหาร ::

ถั่วพู มีคุณค่าทางอาหารสูงมากพอ ๆ กับถั่วเหลืองมีโปรตีนที่ชื่อ Lectins สูง ทั้งยังมีสารเริ่มต้นวิตามินเอ หรือที่เรียกว่า โทโคเฟอรัล สารนี้ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว และมีวิตามินเอ ในปริมาณสูงมาก อีกทั้งฟอสฟอรัสและวิตามินซีที่จะได้รับเต็ม ๆ หากกินถั่วพูสด ๆ




ลักษณะทั่วไป ::
ดอกถั่วพูนั้น มีสีขาวอมม่วงสวยน่ามอง ถ้าได้ลองปลูกในบ้าน ก็จะได้ทั้งอาหารผักและอาหารตาไว้เชยชม ใบถั่วพูนั้นเป็นใบย่อยสามใบรูปร่างเหมือนไข่ ผลเป็นฝักแบนมีปีก 4 ปีก เล็ก ๆ ฝักยาวประมาณ 3-6 นิ้ว เมล็ดกลมเรียบเป็นมัน รากเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีปม

การปลูกและการดูแล ::
ถ้าได้กินถั่วพูแล้วติดใจ อยากปลูกถั่วพูไว้ดูทั้งดอกและเป็นผักสวนครัวก็ง่ายแสนง่าย แค่มีเมล็ดพันธุ์ และอาจมีรั้วระแนงหรือรั้วไม้ไผ่กบที่ว่างเพียงเล็กน้อยพอปักค้างให้เถาถั่วเลื้อยขึ้นปีนป่าย พืชในวงศ์ถั่วมักชอบน้ำมาก ๆ และขึ้นได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ แต่หากเป็นฤดูฝนที่ฝนชุกก็เป็นที่ชอบอกชอบใจของถั่วพูมากทีเดียว เพียงรดน้ำเช้าเย็นอย่าให้ดินแห้งเกินไป ถั่วพูจะเติบโตเร็วทันใจคนที่รอกินผักฝักแบนมีปีกสี่แฉกแสนอร่อยนี้

ถั่วพูยังทนทานต่อโรคพืชหลายชนิด และถึงแม้มีหนอนบ้างก็อาจใช้วิธีหยิบออก เพราะปลูกในบ้านเราเอง และคงไม่มีใครปลูกถั่วพูไว้กินเองมาก จนต้องใช้ยาฆ่าแมลง และหากใครเป็นคนกลัวหนอนอย่างหนักจนต้องใช้ยาฆ่าแมลงจริงๆ ตอนนี้ก็มียาประเภทสารสกัดจากธรรมชาติอย่างเช่น สารสกัดจากสะเดา คนนี้คนเขียนก็ใช้อยู่ ได้ผลดีทีเดียว แต่มีคนแอบนินทาว่าสะเดาแบบที่ทำยากำจัดแมลงออกจะมีกลิ่นฉุนมากไป
สะเดาก็อย่าน้อยใจไป ก็เขาทำมาให้ใช้กับแมลง ไม่ได้ให้คนเอามาดมสักหน่อย

ประโยชน์ ::
คุณค่าสมุนไพรของถั่วพูมีมากเหมือนคุณค่าทางอาหารโดยมีส่วนที่ใช้เป็นยา คือ หัว และราก ส่วนหัวใช้บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง แก้ร้อนในกระหายน้ำ วิธีใช้โดยนำมาตากแห้ง หั่นแล้วคั่วไฟให้เหลือง ชงดื่ม เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย ใครที่ชอบเครียด เดี๋ยวเครียดเดี๋ยวเครียดก็น่าพิจารณาอยู่เหมือนกัน พิจารณานาน ๆ เดี๋ยวก็หิว เดี๋ยวก็ต้องสั่งยำถั่วพูมาสักจาน แก้เครียด ท้องอิ่มแล้วความเครียดก็ลดลงเสมอ

ใบยอดอ่อนและเมล็ดมีโปรตีนสูง ซึ่งช่วยย่อยไขมันอิ่มตัว ส่วนรากใช้รักษาอาการปวดมวนท้อง รักษาโรคลมพิษกำเริบ

ต้องลองสัมผัสจึงเรียนรู้ว่า บางทีสิ่งที่เราเคยเชื่อหรือคิดว่าเป็นจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เหมือนถั่วพูนั่นอย่างไร จากที่เคยเข้าใจถั่วพูผิด ๆ อยู่นานว่าน่าจะเหม็นเขียว ตอนนี้เปลี่ยนใจกลับมารักถั่วพูผู้มีปีกแล้วเรียบร้อยเหมือนหนังไทยที่พระเอกกับนางเอกมักเข้าใจผิดกันก่อน แล้วก็ต้องกลับมารักกัน เพราะเห็นความดีมีคุณค่า รสชาติที่เอร็ดอร่อย และได้ลองใจ (กิน) กันแล้วเรียบร้อย

อาหาร ::










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น