5 ส.ค. 2554

สวนพฤกษศาสตร์

ถั่วพู


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) D.C.
สปีชีส์ : P. tetragonolobus
สกุล : Psophocarpus
เผ่า : Phaseoleae
วงศ์ย่อย : Faboideae
วงศ์ : Fabaceae
อันดับ : Fabales
ชั้น : Magnoliopsida
ส่วน : Magnoliophyta
อาณาจักร : Plantae

ถั่วพู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psophocarpus tetragonolobus) เป็นพืชจำพวกถั่ว ผลเป็นฝัก ยาว มี 4 ครีบ นิยมรับประทานสด หรือปรุงสุกก็ได้


สรรพคุณ
บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้

คุณค่า
มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน






 หากว่าไม่เคยเห็นหน้าตาของยำถั่วพูมาก่อน จากในหนังสือก็คงไม่คิดสั่งมารับประทาน เพราะความไม่คุ้นเคยของเรา เพราะเคยรู้สึกเอาเอง ว่า ฝักถั่วพูช่างน่าเหม็นเขียวอะไรอย่างนั้น เข้าใจถั่วพูผิด ๆ อยู่นานทีเดียว จนเมื่อได้ลองลิ้มยำถั่วพูจานแรกเข้าไป เมื่อนั้นก็เป็นต้องสั่งมาขึ้นโต๊ะทุกคร้งที่ได้ไปนั่งร้านอาหาร จะเป็นยำแบบเปรี้ยวที่ไม่ใส่กะทิแต่มีพริกขี้หนู หรือจะเป็นยำแบบมัน ๆ มีกะทิมีพริกเผาก็เยี่ยม บางสูตรก็มีมะพร้าวคั่ว เติมมาให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น หรือจะแค่ลวกจิ้มน้ำพริก ใส่ในขนมจีน ไม่ว่าจะกินกับน้ำยาแบบใดก็เด็ดทั้งนั้น


บางคนชอบกินสด รสจะมัน ๆ หรือไม่ชอบแบบสดก็ผักเล็กน้อยกับน้ำมันแล้วกินกับน้ำพริกหรือขนมจีน จะหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผสมลงในทอดมันก็ได้เมนูเด็ดที่ชาวปักษ์ใต้นิยมก็คือแกงไตปลา ที่บางที่ก็ใส่ถั่วพูลงไปเพิ่มรสให้มันสะใจยิ่งขึ้น หากจะรับประทานฝักถั่วพูก็ควรรับประทานฝักอ่อนที่ยังไม่มีเมล็ด นอกจากผลที่เป็นฝักแล้ว ดอกอ่อน ยอดอ่อนก็ยังรับประทานได้อีกด้วย ทางแม่ฮ่องสอนเรียกถั่วพูว่า “บ่อบะปะหลี” คงเป็นภาษาไทยใหญ่กระมัง






คุณค่าทางอาหาร ::

ถั่วพู มีคุณค่าทางอาหารสูงมากพอ ๆ กับถั่วเหลืองมีโปรตีนที่ชื่อ Lectins สูง ทั้งยังมีสารเริ่มต้นวิตามินเอ หรือที่เรียกว่า โทโคเฟอรัล สารนี้ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว และมีวิตามินเอ ในปริมาณสูงมาก อีกทั้งฟอสฟอรัสและวิตามินซีที่จะได้รับเต็ม ๆ หากกินถั่วพูสด ๆ




ลักษณะทั่วไป ::
ดอกถั่วพูนั้น มีสีขาวอมม่วงสวยน่ามอง ถ้าได้ลองปลูกในบ้าน ก็จะได้ทั้งอาหารผักและอาหารตาไว้เชยชม ใบถั่วพูนั้นเป็นใบย่อยสามใบรูปร่างเหมือนไข่ ผลเป็นฝักแบนมีปีก 4 ปีก เล็ก ๆ ฝักยาวประมาณ 3-6 นิ้ว เมล็ดกลมเรียบเป็นมัน รากเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีปม

การปลูกและการดูแล ::
ถ้าได้กินถั่วพูแล้วติดใจ อยากปลูกถั่วพูไว้ดูทั้งดอกและเป็นผักสวนครัวก็ง่ายแสนง่าย แค่มีเมล็ดพันธุ์ และอาจมีรั้วระแนงหรือรั้วไม้ไผ่กบที่ว่างเพียงเล็กน้อยพอปักค้างให้เถาถั่วเลื้อยขึ้นปีนป่าย พืชในวงศ์ถั่วมักชอบน้ำมาก ๆ และขึ้นได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ แต่หากเป็นฤดูฝนที่ฝนชุกก็เป็นที่ชอบอกชอบใจของถั่วพูมากทีเดียว เพียงรดน้ำเช้าเย็นอย่าให้ดินแห้งเกินไป ถั่วพูจะเติบโตเร็วทันใจคนที่รอกินผักฝักแบนมีปีกสี่แฉกแสนอร่อยนี้

ถั่วพูยังทนทานต่อโรคพืชหลายชนิด และถึงแม้มีหนอนบ้างก็อาจใช้วิธีหยิบออก เพราะปลูกในบ้านเราเอง และคงไม่มีใครปลูกถั่วพูไว้กินเองมาก จนต้องใช้ยาฆ่าแมลง และหากใครเป็นคนกลัวหนอนอย่างหนักจนต้องใช้ยาฆ่าแมลงจริงๆ ตอนนี้ก็มียาประเภทสารสกัดจากธรรมชาติอย่างเช่น สารสกัดจากสะเดา คนนี้คนเขียนก็ใช้อยู่ ได้ผลดีทีเดียว แต่มีคนแอบนินทาว่าสะเดาแบบที่ทำยากำจัดแมลงออกจะมีกลิ่นฉุนมากไป
สะเดาก็อย่าน้อยใจไป ก็เขาทำมาให้ใช้กับแมลง ไม่ได้ให้คนเอามาดมสักหน่อย

ประโยชน์ ::
คุณค่าสมุนไพรของถั่วพูมีมากเหมือนคุณค่าทางอาหารโดยมีส่วนที่ใช้เป็นยา คือ หัว และราก ส่วนหัวใช้บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง แก้ร้อนในกระหายน้ำ วิธีใช้โดยนำมาตากแห้ง หั่นแล้วคั่วไฟให้เหลือง ชงดื่ม เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย ใครที่ชอบเครียด เดี๋ยวเครียดเดี๋ยวเครียดก็น่าพิจารณาอยู่เหมือนกัน พิจารณานาน ๆ เดี๋ยวก็หิว เดี๋ยวก็ต้องสั่งยำถั่วพูมาสักจาน แก้เครียด ท้องอิ่มแล้วความเครียดก็ลดลงเสมอ

ใบยอดอ่อนและเมล็ดมีโปรตีนสูง ซึ่งช่วยย่อยไขมันอิ่มตัว ส่วนรากใช้รักษาอาการปวดมวนท้อง รักษาโรคลมพิษกำเริบ

ต้องลองสัมผัสจึงเรียนรู้ว่า บางทีสิ่งที่เราเคยเชื่อหรือคิดว่าเป็นจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เหมือนถั่วพูนั่นอย่างไร จากที่เคยเข้าใจถั่วพูผิด ๆ อยู่นานว่าน่าจะเหม็นเขียว ตอนนี้เปลี่ยนใจกลับมารักถั่วพูผู้มีปีกแล้วเรียบร้อยเหมือนหนังไทยที่พระเอกกับนางเอกมักเข้าใจผิดกันก่อน แล้วก็ต้องกลับมารักกัน เพราะเห็นความดีมีคุณค่า รสชาติที่เอร็ดอร่อย และได้ลองใจ (กิน) กันแล้วเรียบร้อย

อาหาร ::










20 ก.ค. 2554

กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัว
รหัสพรรณไม้         7-11000-001-001
ชื่อสามัญ              กระบือเจ็ดตัว
ชื่อวิทยาศาสตร์      Excoecaria cochinchinensis Lour.
ชื่อวงศ์                 EUPHORBIACEAE
ลักษณะวิสัย           ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่น           มียางขาวเหมือนน้ำนม
                                           ใบเป็นใบเดี่ยวขอบใบหยัก
                         ด้านบน สีเขียวอมเทา
                         ด้าล่างสีแดงม่วง ใบอ่อนผิว 
                         มัน ท้องใบเป็น  สีเขียวอ่อน
ประโยชน์               -
รูปภาพ



กฤษณา

กฤษณา
รหัสพรรณไม้         7-11000-001-002
ชื่อสามัญ               กฤษณา
ชื่อวิทยาศาสตร์       Aquilaria malaccensis Lam.ชื่อวงศ์                 THYMELAECEAE

ลักษณะวิสัย            ไม้ยืนต้น
ลักษณะเด่น            ใบเป็นใบเดี่ยวเป็นมันค่อนข้าง
                          หนาเรียบ สีเขียวเข้ม ดอกออก
                          เป็นช่อสีขาว มีกลิ่นหอม ฉุน
                          ดอก ย่อยมี กลีบดอก 5 กลีบ
ประโยชน์                  -
รูปภาพ  
         

กาหลง

กาหลง
รหัสพรรณไม้          7-11000-001-003
ชื่อสามัญ               กาหลง
ชื่อวิทยาศาสตร์       Bauhinia acuminata L.
ชื่อวงศ์                  LEGUMINOSAE
ลักษณะวิสัย           ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่น           เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว
                                           กิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมพอแก่จะ
                         เกลี้ยงไม่มีขน ใบเป็น ใบเดี่ยว
                         รูปค่อนข้างกลม ปลายใบมนและเว้า โคน
                         ใบมนเว้ารูปหัวใจ ดอกสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ
ประโยชน์                 -
รูปภาพ               

แก้ว

แก้ว
รหัสพรรณไม้           7-11000-001-004
ชื่อสามัญ                แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์        Murraya paniculata Jack
ชื่อวงศ์                   RUTACEAE
ลักษณะวิสัย             ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่น             ใบปลายแหลม เป็นมัน ขยี้ใบดม
                           มีกลิ่นคล้ายผิวส้ม ดอกออกเป็นช่อ
                           มีสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ประโยชน์                  -
 รูปภาพ    

แก้วเจ้าจอม

แก้วเจ้าจอม
รหัสพรรณไม้       7-11000-001-005
ชื่อสามัญ            แก้วเจ้าจอม
ชื่อวิทยาศาสตร์    Guaiacum officinale L.
ชื่อวงศ์               ZYGOPHYLLACEAE PAPILIONOIDEAE
ลักษณะวิสัย         ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่น         ใบ เป็นใบรวม รูปไข่ออกเป็นคู่ ดอกออก
                       ที่ปลายกิ่งมี 5 กลีบ
                      ดอกมีสีฟ้าอมม่วง สีม่วง
ประโยชน์                -
รูปภาพ               

โกสน

โกสน
รหัสพรรณไม้          7-11000-001-006
ชื่อสามัญ               กระบือเจ็ดตัว
ชื่อวิทยาศาสตร์       Codiaeum variegatum ( L.) Blume.ชื่อวงศ์                  EUPHORBIACEAE
ลักษณะวิสัย            ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่น            ใบมีลายหรือจุดประสีต่างๆกัน
                                             ใบรูปต่างๆได้แก่ ใบเรียวเล็ก
                         ใบกลม ใบพาย ใบรูปตรีฉัตร
                                            หรือบิดเป็นเกลียว
ประโยชน์                   -
รูปภาพ               

ไกร

ไกร
รหัสพรรณไม้          7-11000-001-007
ชื่อสามัญ               ไกร
ชื่อวิทยาศาสตร์       Ficus concinna Miq..
ชื่อวงศ์                 MORACEAE
ลักษณะวิสัย            ไม้ยืนต้น
ลักษณะเด่น            ลำต้นตรง มียางขุ่นคล้ายน้ำนม
ประโยชน์                 -
รูปภาพ         

ข่อย

ข่อย
รหัสพรรณไม้         7-11000-001-008
ชื่อสามัญ               ข่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์        Streblus asper Lour.
ชื่อวงศ์                  MORACEAE
ลักษณะวิสัย            ไม้ยืนต้น
ลักษณะเด่น            เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆ
                          ใบมีขนาดเล็ก แข็งหนา ใบมน ขอบใบเรียบ
                                             ผิวใบสากคล้ายกระดาษทราย ดอกมี
                                             ขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน
ประโยชน์                   -
รูปภาพ

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก
รหัสพรรณไม้          7-11000-001-009
ชื่อสามัญ               ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์        Senna siamea (Lam.)
ชื่อวงศ์                   LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE Irwin & Barnebyt.
ลักษณะวิสัย             ไม้ยืนต้น
ลักษณะเด่น             ใบเป็นใบประกอบ รูปร่างใบเป็นขอบขนาน
                           ปลายมนเรียบ ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อใหญ่
                           ตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบนแคม 
                           ค่อนหนา สีน้ำตาลคล้ำ
ประโยชน์                ราก รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา
                           ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ ให้หย่อน 
                           แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
                           เปลือกต้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร
                           โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็น ยาระบาย
                           ใบ รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง
                           ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการ
                           นอนไม่หลับ
                           ฝัก แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ
                                               แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิต
                           ขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
รูปภาพ